ร้อย.อส.อ.ท้ายเหมือง บก.บร.อส.จ.พังงา ศป.ปส.อ.ท้ายเหมือง เปิดโครงการช่วยเหลือผู้เสพ / ผู้ติดฯ ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม

 

 

วันที่ 28 มี.ค. 2566 เวลา 13.30 น.

 

 

ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอท้ายเหมือง เปิดโครงการช่วยเหลือผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมอำเภอท้ายเหมืองจังหวัดพังงา ประจำปีงบประมาณ 2566

 

 

นายพจน์ หรูวรนันท์ ปลัดจังหวัดจังหวัดพังงา เป็นประธานพิธีเปิด สำหรับโครงการฯ ดังกล่าว

นายศิวัชฐ์ ระวังกุล นายอำเภอท้ายเหมือง / ผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอท้ายเหมืองที่ 8 พร้อมทุกภาคส่วนราชการในพื้นที่ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในพื้นที่ ด้วยการเสริมสร้างความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย และปรับเปลี่ยนทัศนคติ สร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ มีเป้าหมายการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติดด้วย จากการค้นหาre xray

 

ผู้ที่มีคุณสมบัติในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จำนวน 50 คน สมัครใจเข้ารับการฟื้นฟูสภาพทางสังคมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในระหว่างวันที่ 24 มีนาคม – 7 เมษายน 2566 ณ หอประชุมศาลาประชาคม อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นระยะเวลา 15 วัน

สำหรับการดำเนินการในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการแก้ไขปัญหายาเสพติดอำเภอท้ายเหมือง ตาม”ยุทธการราชสีห์ภักดีต่อแผ่นดิน” ซึ่งมีกิจกรรมครอบคลุมทั้ง 4 แผนงาน ประกอบด้วย

 1 แผนการปราบปราม

ในรอบ2 เดือนที่ผ่านมา ชุดปฎิบัติการได้บูรณาการส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถจับกุมผู้ค้าตามบัญชีได้ยาบ้า 4,200 เม็ด ยาไอซ์จำนวนหนึ่ง และนำตัวผู้ต้องหาดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว

2 แผนการป้องกัน

2.1 จัดทำช่องทางการแจ้งเบาะแสโดยใช้สื่อเทคโนโลยีทางไลน์ Qr code เป็นสติ๊กเกอร์ ติดตามแหล่งพื้นที่ สถานที่ราชการ ร้านค้า หมู่บ้าน ชุมชน ทุกแห่งในอำเภอ ขณะนี้ได้รับการแจ้งเบาะแสผู้เกี่ยวช้องยาเสพติดผ่านระบบแล้วเบื้องต้น 10 ราย

2.2 จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพชุดปฎิบัติการประจำตำบล ให้ เป็นชุดเผชิญเหตุ ที่มีทักษะ ความรุ้ความสามารถ ในการดูแล ผู้เกี่ยวข้องยาเสพติดในพื้นที่ เข่น ผู้ป่วยทางจิต ผู้ผ่านการบำบัด เป็นต้น

2.3 ดำเนินการโครงการกวาดบ้านตัวเอง สุ่มตรวจพนักงาน ข้าราชการ บุคลากรของส่วนราชการ เอกชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ ให้ ครบถ้วนทุกแห่งภายใน 3 เดือน

3 แผนการบำบัด

จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้เสพ ผู้ติดยา ของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม จำนวน 1 รุ่น และติดตามการดำเนินการของ อปท นำร่อง ตามภารกิจที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณผ่าน กรม สถ. ด้านการบำบัดในพื้นที่ อีก 3 แห่ง

4 ด้านแผนฟื้นฟุสภาพทางสังคม ช่วยกำกับดูแล ติดตามให้  อปท ในพื้นที่ เป็นหน่วยงานหลักสำคัญในการช่วยเหลือดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องยาเสพติดให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ห่างไกลไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งในอนาคตและปัจจุปันต่อไป